บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2017

การนำทฤษฎีการสื่อสารมาใช้ในการนิเทศการศึกษา

รูปภาพ
การนำทฤษฎีการสื่อสารมาใช้ในการนิเทศการศึกษา         การนำทฤษฎีการสื่อสารมาใช้ในการนิเทศการศึกษานั้นเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นมาก เนื่องจากการนิเทศการศึกษานั้นจำเป็นต้องทำการความเข้าใจที่ชัดเจนถูกต้อง ร่วมกันระหว่างผู้นิเทศ ผู้รับการนิเทศ และผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่ง วัชรา เล่าเรียนดี (2554 : 84) สรุปถึงวิธีการสื่อสารในการนิเทศไว้ ดังนี้         1. ทางวาจา ต้องใช้คำพูดที่สื่อความหมายได้ชัดเจน         2. ทางการเขียน ควรเขียนด้วยภาษาเขียนที่ถูกต้อง อ่านแล้วเข้าใจง่าย         3. ภาษาท่าทาง เช่น การแสดงออกด้วยสีหน้า แววตา ท่าทาง อากัปกิริยาต่างๆ         4. ทางวาจา ทางการเขียน และการใช้ท่าทาง การสื่อสารที่ใช้ผสมผสานกันในการสื่อความหมายช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น         5. ทางวาจา อุปกรณ์ สัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อสื่อความหมาย อาจสร้างความเข้าใจได้ไม่ตรงกัน แต่ถ้ามีการใช้วาจาประกอบการแสดง การอธิบาย จะช่วยให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น         นอกจากนี้ ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2558 : 171) ได้กล่าวถึงการนำความรู้การติดต่อสื่อสารไปใช้ในการนิเทศ ดังต่อไปนี้         1. การติดต่อสื่อสาร

อุปสรรคของการสื่อสาร

รูปภาพ
อุปสรรคของการสื่อสาร         การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพนั้น นอกจากขึ้นอยู่กับผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเรื่องนี้ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2550 : 29) ได้กล่าวถึง อุปสรรคที่ทำให้การสื่อสารไม่ประสบความสำเร็จ 4 ประการ ดังนี้         อุปสรรคของผู้ส่งสาร เช่น ขาดความรู้ในเรื่องที่นำเสนอ ความบกพร่องของผู้ส่งสารอาจเกิดจากสภาพร่างกายหรือจิตใจไม่ปรกติ ผู้ส่งสารขาดความสามรถในการสื่อสาร ทำให้การสื่อสารไม่ประสบผลสำเร็จ         อุปสรรคที่สาร เช่น สารเป็นเรื่องยากเกินไป ใช้รูปแบบที่ซับซ้อน สารนั้นขัดแย้งกับความเชื่อและค่านิยมของผู้รับสาร ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในการสื่อสารเท่าที่ควร         อุปสรรคที่สื่อ เช่น สื่อถูกรบกวนหรือสื่อชำรุดบกพร่อง สื่อเทคโนโลยีส่วนมากจะเกิดปัญหาความชำรุดของสื่อ เช่น โทรศัพท์ขัดข้อง วิทยุโทรทัศน์ชำรุด ทำให้สื่อสามารถทำหน้าที่นำสารไปสู่ผู้รับได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ         อุปสรรคที่ผู้รับสาร เช่น ผู้รับสารมีอคติต่อผู้ส่งสารหรือมีอคติต่อสาร ผู้รับสารมีความคิดเห็นแตกต่างกับสาร ผู้รับสารขาดความพร้อม เจ็บป่

การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

รูปภาพ
การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ          เจมส์ เอ.เอฟ. สโตเนอร์ และชาร์ส แวกเคอร์ ( James A.F Stoner and Charles Wankle, 1987 อ้างถึงใน ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ ,     2553 : 187) ได้เสนอแนะวิธีการติดต่อสื่อสารที่ดี ดังนี้          1. ให้ทำความเข้าใจอย่างกระจ่างชัดในความคิดเห็นของตนเองเสียก่อนที่จะติดต่อกับผู้อื่น ความคิดเห็นและปัญหาหากได้รับการวิเคราะห์อย่างมีระบบก็จะช่วยให้การติดต่อสื่อสารชัดเจนขึ้น         2. ควรตรวจสอบจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการสื่อสารก่อนจะติดต่อ โดยถามตนเองก่อนว่าท่านต้องการส่งข่าวสารอะไร มีจุดมุ่งหมายอย่างไร ต้องการเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นของผู้รับหรือไม่ ปรับภาษา เสียง และวิธีการติดต่อเพื่อจะให้เป็นไปตามจุดประสงค์เฉพาะนั้น         3. คิดถึงสภาพแวดล้อมของบุคคลเมื่อมีการติดต่อสื่อสาร เฉพาะสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น เวลา สถานที่ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีความสำคัญพอกับคำพูดที่ใช้ติดต่อสื่อสาร         4. ปรึกษาผู้อื่น ผู้ที่เหมาะสมถึงการวางแผนการติดต่อสื่อสาร การปรึกษาหารือ         5. โปรดให้ความระมัดระวังในน้ำเสียงการพูด ท่าทางและความตั้งใจที่จะรับฟังก

องค์ประกอบของกระบวนการติดต่อสื่อสาร

รูปภาพ
องค์ประกอบของกระบวนการติดต่อสื่อสาร          สิ่งสำคัญที่จะให้การสื่อสารประสบความสำเร็จ คือ องค์ประกอบของกระบวนการ การติดต่อสื่อสารเกี่ยวกับเรื่องนี้ อารมณ์ ฉนวนจิตร     (2556 : 132) สรุปได้ว่า "การติดต่อสื่อสารจะโดยวิธีทางตรง เช่น การพูด การอธิบาย การสนทนา หรือการติดต่อโดยใช้อุปกรณ์อื่นๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ อีเมล์ เป็นต้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีองค์ประกอบ 4 ส่วน คือ"          1. ผู้ส่ง คือ ผู้ทำหน้าที่กระจายข้อมูล เริ่มต้นในการสื่อสาร เช่น ครูถ่ายทอดเนื้อหาวิชาของบทเรียนแก่นักเรียน          2. สาร คือ ข้อมูล ข้อความ เนื้อหาสาระ ข้อเท็จจริง ที่จะถูกส่งไปยังผู้รับ          3. สื่อ คือ ตัวกลางที่จะช่วยนำสารไปยังผู้รับ สื่ออาจสรุปได้ว่าเป็นช่องทางในการนำข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับ             สื่ออาจมีหลายๆ ชนิด เช่น คำพูด หนังสือ ในสมัยโบราณเราใช้ควันไฟส่งข้อความ ปัจจุบันเราใช้แสง ใช้เสียง มาเป็นสัญญาณในการส่งข้อความมากยิ่งขึ้น          4. ผู้รับ คือ ผู้ที่รับข้อมูลจากผู้ส่งโดยผ่านรายการที่เรียกว่าสื่อชนิดต่างๆ             "ในทางปฏิบัติจริงๆ

แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสาร

แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสาร         การพูด การฟัง และการสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด รวมถึงการใช้ภาษาท่าทาง ( Nonverbal)  เป็นองค์ประกอบสำคัญของการสื่อสาร ดังนั้น ผู้นิเทศที่ดีต้องสามารถสื่อสารและสื่อความหมายได้อย่างถูกต้องชัดเจน รวมถึงสามารถให้ข้อมูลสำคัญให้กับผู้รับการนิเทศให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่ต้องการสื่อสารดังนั้น "การสื่อสาร" จึงเป็นเครื่องมือหนึ่งของการนิเทศการศึกษา          ในทำนองเดียวกัน คอสต้าและแกมส์ตัน ( Costa and Gramston, 2002  อ้างถึงในวัชรา เล่าเรียนดี , 2554 : 85)   ได้กล่าวถึงความสำคัญของการสื่อสารว่า มีความสำคัญมากต่อการปฏิบัติร่วมงานกันให้บรรลุเป้าหมายและประสบผลสำเร็จ การสื่อความหมายที่สำคัญ คือ การใช้วาจา คำพูด เช่น การใช้ระดับของเสียงในการพูด ความดังของเสียง การเน้นคำหรือข้อความ การสะท้อนความคิด การโต้ตอบและการใช้คำที่เหมาะสม ชัดเจนเข้าใจง่าย สำหรับการสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูดและใช้ภาษาท่าทาง ( Nonverbol)  เช่น ท่าทาง การยืน การนั่ง การแสดงออกซึ่งท่าทาง ระยะความห่างระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ความตึงเครียด ความผ่อนคลายของท่าทางและการแสดงออกท

ความหมายของการสื่อสาร

รูปภาพ
ความหมายของการสื่อสาร         " Communication" เป็นคำภาษาอังกฤษที่มีผู้ให้คำแปลไว้แตกต่างกัน เช่น การสื่อสาร การติดต่อสื่อสาร การสื่อข้อความ การติดต่อราชการ การสื่อสัมพันธ์ เป็นต้น  " Communication" เป็นคำมาจากภาษาลาติน คือ " Communis" แปลว่า การสร้างอย่างสามัญ ( Common) ซึ่ง คณะกรรมการการอุดมศึกษา (2547 : 132-133) ได้ให้ความหมายของ คำว่า " Communication" หรือ คำว่า "การสื่อสาร" ได้อย่างน่าสนใจว่า "เป็นกิจกรรมที่สำคัญที่มนุษย์ต้องการบอกให้ผู้อื่นรู้ว่าตนเองต้องการอะไร ทำอย่างไร โดยผ่านสื่อหรือช่องทางต่างๆ ที่เหมาะสมให้เข้าใจตรงกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร"         นอกจากนี้ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2550 : 28) กล่าวว่า "การสื่อสารเป็นการติดต่อกันระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคล โดยมีจุดประสงค์ที่จะเสนอเรื่องราวต่างๆ อัน ได้แก่ ข้อมูลข่าวสาร ความรู้สึกนึกคิด ความต้องการ ตลอดจนความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลรับรู้"         ดังนั้น การสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่ผู้นิเทศและผู้รับการนิเท