การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ


การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

        เจมส์ เอ.เอฟ. สโตเนอร์ และชาร์ส แวกเคอร์ (James A.F Stoner and Charles Wankle, 1987 อ้างถึงใน ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์,    2553 : 187) ได้เสนอแนะวิธีการติดต่อสื่อสารที่ดี ดังนี้
        1. ให้ทำความเข้าใจอย่างกระจ่างชัดในความคิดเห็นของตนเองเสียก่อนที่จะติดต่อกับผู้อื่น ความคิดเห็นและปัญหาหากได้รับการวิเคราะห์อย่างมีระบบก็จะช่วยให้การติดต่อสื่อสารชัดเจนขึ้น
        2. ควรตรวจสอบจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการสื่อสารก่อนจะติดต่อ โดยถามตนเองก่อนว่าท่านต้องการส่งข่าวสารอะไร มีจุดมุ่งหมายอย่างไร ต้องการเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นของผู้รับหรือไม่ ปรับภาษา เสียง และวิธีการติดต่อเพื่อจะให้เป็นไปตามจุดประสงค์เฉพาะนั้น
        3. คิดถึงสภาพแวดล้อมของบุคคลเมื่อมีการติดต่อสื่อสาร เฉพาะสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น เวลา สถานที่ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีความสำคัญพอกับคำพูดที่ใช้ติดต่อสื่อสาร
        4. ปรึกษาผู้อื่น ผู้ที่เหมาะสมถึงการวางแผนการติดต่อสื่อสาร การปรึกษาหารือ
        5. โปรดให้ความระมัดระวังในน้ำเสียงการพูด ท่าทางและความตั้งใจที่จะรับฟังการตอบสนองจากผู้รับหรือผู้ฟัง
        6. หากมีโอกาสควรจะเสนอความคิดเห็นที่จะให้ความช่วยเหลือหรือการให้สิ่งที่มีคุณค่าแก่ผู้รับ การคิดถึงผู้รับด้วยความรู้สึกเกรงใจ เข้าใจถึงความสนใจและความต้องการของผู้รับเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เกิดการติดต่อสื่อสารที่ดีขึ้น พยายามที่จะมองจากจุดของผู้ส่งและผู้รับ
        7. ติดตามผลจากการติดต่อสื่อสาร โดยการถามหรือให้กำลังใจผู้รับ รวมทั้งการแสดงออกเพื่อที่จะได้เชื่อว่า การติดต่อสื่อสารนั้นได้ผลในด้านความเข้าใจอันดี และได้ผลตามความมุ่งหมาย
        8. การติดต่อสื่อสารในวันพรุ่งนี้ก็มีความดีเท่าๆ กับวันนี้ หมายถึง การติดต่อสื่อสารควรพิจารณาให้รอบคอบคิดถึงผลระยะยาว จึงควรจะเป็นการติดต่อสื่อสารที่มีความสม่ำเสมอ
        9. ไม่แน่ใจว่าการกระทำของท่านสนับสนุนการติดต่อสื่อสาร เพราะผลจากการติดต่อสื่อสารมักจะดูที่พฤติกรรม ไม่ใช่เพียงสักแต่พูดแต่ต้องทำได้และทำได้ดีด้วย
        10. แสวงหาไม่เพียงแต่ความเข้าใจแต่ต้องมีความเข้าใจอันดีต่อกัน การเป็นผู้ฟังที่ดี ตั้งใจฟัง และสังเกตปฏิกิริยาของผู้รับเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
        จากความข้างต้นดังกล่าว หากผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศมันปรับปรุงและฝึกฝนตนให้เป็นผู้ที่สามารถสื่อสาร และสื่อความหมายได้อย่างดีเยี่ยมแล้ว ก็จะช่วยให้การนิเทศการศึกษามีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ต้องหมั่นฝึกฝนตนเองและก็จะเกิดความชำนาญในที่สุด

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุปสรรคของการสื่อสาร

องค์ประกอบของกระบวนการติดต่อสื่อสาร

แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสาร